โรคต่อมลูกหมากโต พบได้ในเพศชายอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป และจะยิ่งพบมากขึ้นตามอายุ โดยประมาณว่าเมื่อผู้ชายมีอายุถึง 80 ปี ร้อยละ 80 จะเป็นโรคต่อมลูกหมากโต โดยทั่วไปถึงแม้ว่าต่อมลูกหมากจะโตขึ้น จะพบว่าร้อยละ 40-50 ของผู้ป่วยเท่านั้นที่จะมีอาการของโรคนี้ เนื่องจากเนื้อต่อมซึ่งอยู่ด้านในสุดล้อมรอบท่อปัสสาวะ ซึ่งเป็นส่วนที่โตขึ้นนี้ จะบีบท่อปัสสาวะทำให้แคบลง และทำให้เกิดอาการปัสสาวะขัด รวมทั้งอาการอื่น ๆ ของโรคนี้ด้วย

อีกประการหนึ่งที่สำคัญ คือ โรคต่อมลูกหมากโตไม่ใช่มะเร็งต่อมลูกหมาก และไม่กลายเป็นมะเร็ง แต่ทั้งสองโรคอาจพบร่วมกันได้ในบางคน ทั้งนี้เนื่องจากว่าตำแหน่งที่เกิดโรคทั้งสองนี้ไม่เหมือนกันนั่นเอง

อาการที่แสดงของภาวะต่อมลูกหมากโต

  • ปัสสาวะลำบาก
  • ตื่นมาปัสสาวะกลางคืนหลายครั้ง
  • ปัสสาวะไม่พุ่ง
  • กลั้นปัสสาวะไม่อยู่
  • ปัสสาวะไม่สุด
  • ปัสสาวะบ่อย

การรักษาโรคต่อมลูกหมากโตมีหลายวิธีด้วยกัน  ซึ่ง UROLIFT เป็นวิธีการในรักษาโรคต่อมลูกหมากโตในประเทศสหรัฐอเมริกาได้รับการอนุมัติจากองค์การอาหารและยาของสหรัฐ (FDA)  มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของไทยเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2567

วิธีการรักษาต่อมลูกหมากโตโดยวิธี UROLIFT

UROLIFT (ยูโรลิฟต์) เป็นการรักษาโรคต่อมลูกหมากโตแบบรุกล้ำน้อยที่สุดเพื่อขยายท่อปัสสาวะที่ต่อมลูกหมากกดทับให้เปิดกว้างมากขึ้น โดยก่อนการทำหัตถการ แพทย์จะให้ยาสงบประสาทแบบปานกลาง (moderate sedation) หลังจากนั้นแพทย์จะใช้เครื่องมือและส่องกล้องเข้าไปในท่อปัสสาวะของผู้ป่วยเพื่อนำอุปกรณ์ขนาดเล็กพิเศษ(implants) ที่ทำจากสแตนเลส สตีลเกรดการแพทย์ (medical grade stainless steel) และโลหะพิเศษนิทินอล (nitinol) ที่มีความยืดหยุ่นสูง ผ่านทางท่อปัสสาวะเข้าไปยังต่อมลูกหมาก หลังจากนั้นแพทย์จะใส่อุปกรณ์ขนาดเล็กพิเศษประมาณ 4-6 ตัว ขึ้นอยู่กับขนาดของต่อมลูกหมาก เข้าไปยังต่อมลูกหมากเพื่อดึงเนื้อเยื่อต่อมลูกหมากให้เปิดออกจากท่อปัสสาวะอย่างถาวร เป็นหัตถการที่ไม่มีการตัด, เจาะหรือใช้ความร้อนที่ต่อมลูกหมาก และใช้เวลาเพียง 30 นาที

ข้อดีของการรักษาด้วย UROLIFT มีอย่างไร

  • เป็นหัตถการที่แก้ไขปัญหาการปัสสาวะได้เร็ว
  • ไม่ต้องใส่สายสวนปัสสาวะหลังการผ่าตัด
  • รุกล้ำน้อย
  • ไม่ต้องวางยาสลบ เพียงใช้ยาสงบประสาทและยาแก้ปวดแบบฉีดเข้าเส้นเลือดดำ
  • ไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพทางเพศ
  • ไม่จำเป็นต้องนอนโรงพยาบาล
  • สามารถรักษาผู้ป่วยในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงต่อการผ่าตัดได้
  • สามารถฟื้นตัวและกลับไปใช้ชีวิตประจำวันอย่างปกติได้เร็วภายในระยะเวลา 3-7 วัน

ใครบ้างที่เหมาะสมกับการรักษาด้วยวิธี UROLIFT 

  • ผู้ป่วยที่มีภาวะการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ

เตรียมตัวอย่างไรก่อนการรักษาด้วย UROLIFT

  • แจ้งให้แพทย์ทราบล่วงหน้าถึงยา วิตามินและสมุนไพรที่รับประทานเป็นประจำทุกชนิด รวมถึงโรคประจำตัวและประวัติแพ้ยา
  • งดน้ำและอาหาร  6-8 ชั่วโมงก่อนการทำหัตถการ
  • มาถึงโรงพยาบาลก่อนการทำหัตถการอย่างน้อย 1 ชั่วโมงและควรมีญาติหรือผู้ติดตามมาด้วย

ควรปฏิบัติตัวอย่างไรหลังการรักษาด้วย UROLIFT

ควรทำกิจกรรมเบาๆ 2-3 วันหลังการทำหัตถการ หลังจากนั้นผู้ป่วยสามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ แต่ให้หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายหนักหรือการเล่นกีฬา 1 – 2 สัปดาห์

การรักษาด้วย UROLIFT มีความเสี่ยงอะไรบ้าง

อาจมีความเสี่ยงที่พบได้น้อยและมักมีอาการไม่รุนแรง เช่น

  • มีเลือดปนในปัสสาวะ
  • ปัสสาวะบ่อย
  • ติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ
  • อุปกรณ์  (implants) อาจเคลื่อนตัว (migration) ซึ่งเกิดขึ้นได้น้อยมาก